วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พืชศึกษาถั่วพู โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม

ดอกถั่วพู


ฝักถั่วพู



ใบถั่วพู



ชื่อสามัญ : Winged Bean
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus Linn.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทั่วไป : ถั่วพูเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลื้อยได้ ใบออกจากลำต้นแบบสลับ ใบย่อย 3 ใบ ใบรูปร่างคล้ายไข่ป้อม ปลายและขอบใบแหลม ดอกเป็นดอกย่อยสีขาวอมม่วง ผลเป็นผักแบนยาวมี 4 ปีก ตามความยาวของฝัก ฝักยาวประมาณ 3- 4 นิ้ว ภายในมัเมล็ดกลมเรียบเป็นมัน สีขาว น้ำตาลดำ หรือเป็นจุด รากออกเป็นหัวมีปมอยู่ใต้ดินแต่ละปมมีขนาดใหญ่

คุณค่าทางอาหาร : ถั่วพู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม

ประโยชน์ : นอกจากนั้นการกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมาก ทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้ว หัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลือง นำมาชงเป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย

วิธีดูแลรักษา : ถ้าได้กินถั่วพูแล้วติดใจ อยากปลูกถั่วพูไว้ดูทั้งดอกและเป็นผักสวนครัวก็ง่ายแสนง่าย แค่มีเมล็ดพันธุ์ และอาจมีรั้วระแนงหรือรั้วไม้ไผ่กบที่ว่างเพียงเล็กน้อยพอปักค้างให้เถาถั่ว เลื้อยขึ้นปีนป่าย พืชในวงศ์ถั่วมักชอบน้ำมาก ๆ และขึ้นได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ แต่หากเป็นฤดูฝนที่ฝนชุกก็เป็นที่ชอบอกชอบใจของถั่วพูมากทีเดียว เพียงรดน้ำเช้าเย็นอย่าให้ดินแห้งเกินไป ถั่วพูจะเติบโตเร็วทันใจคนที่รอกินผักฝักแบนมีปีกสี่แฉกแสนอร่อยนี้
     ถั่วพูยังทนทานต่อโรคพืชหลายชนิด และถึงแม้มีหนอนบ้างก็อาจใช้วิธีหยิบออก เพราะปลูกในบ้านเราเอง และคงไม่มีใครปลูกถั่วพูไว้กินเองมาก จนต้องใช้ยาฆ่าแมลง และหากใครเป็นคนกลัวหนอนอย่างหนักจนต้องใช้ยาฆ่าแมลงจริงๆ ตอนนี้ก็มียาประเภทสารสกัดจากธรรมชาติอย่างเช่น สารสกัดจากสะเดา คนนี้คนเขียนก็ใช้อยู่ ได้ผลดีทีเดียว แต่มีคนแอบนินทาว่าสะเดาแบบที่ทำยากำจัดแมลงออกจะมีกลิ่นฉุนมากไป สะเดาก็อย่าน้อยใจไป ก็เขาทำมาให้ใช้กับแมลง ไม่ได้ให้คนเอามาดมสักหน่อย

อาหารที่ทำจากถั่วพู

ยำถั่วพู


น้ำพริกมะขามกับถั่วพู